วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เพลงที่ชอบ

                                          
                                                 คนๆนี้จะไม่ไปจากเธอ

 
 
 

สิ่งที่เราสนใจ "ข่าว"


 
รวบแล้วหนุ่มมือฆ่ามัดมือ-เท้า หินถ่วงเจ้าพระยา

            ผู้สื่อข่าว ข่าวสด รายงานว่า หลังจาก พ.ต.อ.อุกฤษ ภู่กลั่น ผกก.สภ.เมืองชัยนาท เปิดเผยว่าได้พบศพนายสายันต์ พันพิทักษ์ หรือ นายเอก อายุ 29 ปี ในแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ หมู่ 6 ตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมืองชัยนาท  เมื่อวันที่ 21 ส.ค. ที่ผ่านมา พร้อมส่งสายสืบลงพื้นที่ค้นหาผู้ก่อเหตุจากคำบอกเล่าของญาติ ทราบว่านายเอกไปติดพันกับผู้หญิงที่มีสามีแล้ว โดยเข้าไปกินเหล้าที่บ้านบ่อยๆ จึงขอหมายค้นจากศาลจังหวัดชัยนาท เข้าค้นบ้านหลังหนึ่งในหมู่ 2 ต.คุ้งสำเภา อ.มโนรมย์ ซึ่งเป็นบ้านของนายทวี บินชัย อายุ 38 ปี มีอาชีพสานตะกล้าเถาวัลย์ อาศัยอยู่กับภรรยา อายุ 33 ปี ซึ่งขณะนั้นนายทวีไม่อยู่บ้าน จากผลการค้นพบขวดเบียร์แตก รอยเลือด เชือก และผ้าห่มที่มีลักษณะคล้ายกับที่ใช้คลุมผู้ตาย จึงเก็บมาเป็นหลักฐาน จากนั้นรอจังหวะที่นายทวีกลับมาบ้าน เมื่อเวลา 22.00 น. คืนที่ผ่านมา จึงรวบตัวไว้ได้ทันควัน นำตัวไปชี้จุดทิ้งรถ พร้อมนำรถขึ้นมาเป็นรถยี่ห้อฮอนด้า ซีบีอาร์ สีฟ้า ทะเบียน ชธ 938 ลพบุรี ของนายเอกจริง  

            นายทวี รับสารภาพว่า วันเกิดเหตุเมื่อวันที่ 17 ส.ค. นายเอก) มาดื่มเหล้าที่บ้านประมาณ 22.00 น. น้องชายมาตามก็ลังเลจะไม่กลับ แต่ก็ยอมกลับบ้านไป แต่ไม่นานนายเอกก็กลับมาที่บ้านอีก เพื่อมาดื่มเหล้าต่อ ซึ่งขณะนั้นภรรยาของนายทวีขึ้นไปสวดมนต์เพื่อที่จะเข้านอนแล้วแต่นายเอกมีอาการเมามากดื่มเบียร์ไปประมาณ 7-8 ขวด ได้ถือขวดเบียร์ขึ้นไปหาภรรยาของตนถึงห้องนอน จึงขึ้นไปไล่ให้กลับบ้าน แต่นายเอกกลับควักปืนออกมาจะยิง ภรรยาแย่งปืนขว้างทิ้งน้ำไป ตนจึงใช้ขวดเบียร์ซึ่งมีเบียร์อยู่เต็มตีเข้าที่ใบหน้าของนายเอกอย่างแรงขวดแตกบาดหน้าใบหน้าของนายเอกเป็นแผลฉกรรจ์ จนล้มลงใบหน้าไปฟาดเข้ากับตุ๊กตาเซรามิกจนแตกที่กกหูและแก้มซ้ายเป็นรู

          เมื่อเห็นนายเอกหมดสติจึงนำผ้าห่มมาคลุมหัว แล้วเอากระสอบสวมอีกชั้นป้องกันเลือดไหลออกมาแล้วมัดมือเท้า นำศพขึ้นรถกระบะนิสสันสีขาว ทะเบียน บค 279 ชัยนาท ไปทิ้งในแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือวัดธรรมามูลโดยใช้หินถ่วงเพื่อไม่ให้ศพลอยขึ้นมา ส่วนรถจักรยานยนต์ของนายเอกที่ขับมาหาที่บ้านได้ให้ลูกชายอายุ 18 ปี ขับไปทิ้งไว้ในคลองอนุศาสนันท์ หมู่ 3 ต.วัดโคก อ.มโนรมย์
 
 
หนุ่มเจ้าของอู่ชื่อดังซิ่งปิกอัพพุ่งชนเกาะกลางถนน เสียหลักฟาดเสาไฟดับคาที่

           เมื่อเวลา 03.15 น. วันที่ 22 ส.ค. ผู้สื่อข่าว ข่าวสดรายงานว่า ร.ต.ท.มนตรี ไชยมล ร้อยเวรสอบสวน สภ.เมืองตรัง รับแจ้งมีอุบัติเหตุรถยนต์ชนเสาไฟฟ้า ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บ ที่บริเวณริมถนนสายห้วยยอด ต.นาตาล่วง อ.เมืองตรัง  หลังรับแจ้งจึงประสานไปยังเจ้าหน้าที่กู้ภัยมูลนิธิกุศลสถานตรัง โดยที่เกิดเหตุริมถนนสายดังกล่าว พบรถกระบะ อีซูซุ สีเขียว ตอนครึ่ง ทะเบียน บจ-3529 ตรัง ได้พุ่งชนเข้ากับเสาไฟฟ้าแรงสูง รวมทั้งตู้โทรศัพท์สาธารณะ และป้ายจอดรถประจำทาง ส่งผลให้กระจกด้านหน้าแตกละเอียด และล้อหลังด้านขวาแตกพังยับเยิน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน ทราบชื่อคือ วุฒิชัย สุดจำนงค์ อายุ 29 ปี อยู่หมู่ 6 ต.นาท่ามเหนือ อ.เมืองตรัง นอกจากนี้ยังมีผู้บาดเจ็บอีก 1 คน ถูกนำตัวส่ง ร.พ.ตรัง
            จากการสอบสวนทราบว่า ก่อนเกิดเหตุ นายวุฒิชัย ผู้ตาย ซึ่งเป็นเจ้าของอู่ซ่อมรถยนต์ชื่อดังในพื้นที่ ต.นาตาล่วง อ.เมืองตรัง ได้ขับขี่รถยนต์คันดังกล่าวมาจากบ้าน โดยมีเพื่อนอีก 2 คนนั่งข้างมาด้วย เพื่อเข้ามารับประทานข้าวต้มในตลาดตัวเมืองตรัง แต่ระหว่างทางได้เกิดอุบัติเหตุขึ้น จนทำให้นายวุฒิชัยเสียชีวิตทันที ส่วนเพื่อนได้รับบาดเจ็บ และมีอยู่ 1 คน ซึ่งหลังเกิดเหตุได้เดินหายไป โดยไม่มีใครทราบว่าไปไหน

             เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตรวจสอบ สถานที่เกิดเหตุ และพบรอยล้อที่พุ่งชนที่เกาะกลางถนน ประมาณ 60 เมตร แต่ไม่พบร่องรอยการเบรก จึงสันนิษฐานว่า นายวุฒิชัยคงขับขี่รถยนต์มาด้วยความเร็วสูง และเมื่อมาถึงจุดเกิดเหตุ รถได้เสียหลักพุ่งขึ้นไปชนเกาะกลางถนน ก่อนที่ผู้ตายจะตกใจและเหยียบเบรกกะทันหัน ทำให้รถหมุนไปฟาดกับเสาไฟฟ้าข้างทาง จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บดังกล่าว ส่วนสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ยังไม่ทราบว่าเกิดจากหลับในหรือเมาสุรา ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างสอบสวนผู้รอดชีวิต

 

หนุ่มน้อยใจแม่ผูกคอดับ

        วันที่ 22 ส.ค. สภ.เมืองอุดรธานี รับแจ้งเหตุคนผูกคอตายที่บ้านเลขที่ 147/4 ม.2 ซ.โพธิ์สว่าง ชุมชนโพธิ์สว่าง 2 ถ.โพศรี ต.หมากแข้ง พบศพนายเชิงชาย อุทัยธรรม อายุ 32 ปี คาดเสียชีวิตมาแล้ว 4 ชั่วโมง นางตุ๋ย อุทัยธรรม อายุ 56 ปี มารดาผู้ตายให้การว่าผู้ตายทำงานเป็นช่างเฟอร์นิเจอร์ กำลังป่วยเป็นวัณโรค และบ่นน้อยใจที่แม่ไม่รัก จนเช้านี้ตนได้เข้าไปปลุกพบว่าผูกคอตายแล้ว เจ้าหน้าที่นำศพส่งแพทย์เพื่อผ่าพิสูจน์อีกครั้งก่อนบำเพ็ญกุศลตามประเพณี

 

อาชีพที่ใฝ่ฝัน "พยาบาล"


พยาบาล    (อาจเรียกว่า นางพยาบาล หรือ พยาบาลชาย)

 เป็นวิชาชีพที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย มักจะสวมชุดพยาบาลสีขาวและสวมหมวกที่มีลักษณะเฉพาะตัว พยาบาลพบได้ทั่วไปทำงานตามโรงพยาบาล คลินิก หรือสถานพยาบาลอื่นๆ พยาบาลเป็นวิชาชีพที่ก่อนจะปฏิบัติงานจต้องผ่านการสอบขึ้นทะเบียนความรู้จากสภาการพยาบาลก่อนจึงจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์ โดยพยาบาลสามารถที่จะดูแลผู้ป่วยได้ตามหลักการพยาบาลที่ได้เรียนมา เป็นเวลา 4 ปีสำหรับพยาบาลวิชาชีพ และสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลมีมากมายในประเทศไทยทั้งที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุขและเอกชน

นิยามอาชีพ

ผู้ปฏิบัติอาชีพพยาบาล ทำหน้าที่ให้การรักษาพยาบาล และดูแลผู้ป่วยทั้งทางกายและจิต ผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือทุพพลภาพ รักษาและป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ วางแผนและให้บริการด้านพยาบาล และทำหน้าที่ช่วยแพทย์ ในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล

ลักษณะของงานที่ทำ

รักษา ดูแล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพยาบาล เป็นผู้ช่วยแพทย์ โดยการสังเกต และบันทึกความเปลี่ยนแปลงในคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการของคนไข้ตามลักษณะโรคที่เป็นทั้งร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ช่วยฟื้นฟูสุขภาพของคนไข้ ช่วยคนไข้ให้ปรับตัวเข้ากับภาวะขัดข้องใดๆ ที่อาจเกิด จากการเจ็บป่วย จัดให้คนไข้ มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย ป้องกันและควบคุมการเผยแพร่ของโรคติดเชื้อ สอนคนไข้ และประชาชนทั่วไปให้รู้จักการดูแลและส่งเสริมสุขภาพวางแผน มอบหมาย สั่งการ ดูแล และประเมินผลงานของผู้ช่วยพยาบาล และผู้ทำหน้าที่ประสานงาน ร่วมงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการแพทย์ และอนามัยแขนงอื่นๆ ในการบริการคนไข้

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

ผู้ประกอบอาชีพนี้ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

1. สำเร็จการศึกษา พยาบาลศาสตร์ต่อเนื่อง หรือพยาบาลศาสตร์

2. มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่พิการหรือทุพพลภาพ ปราศจากโรค (อันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน)

3. มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้เจ็บป่วย มีความเมตตา และมีความรักในเพื่อนมนุษย์มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

4. มีความอดทน อดกลั้น และมีความกล้าในการตัดสินใจ

5. มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน

6. มีความเสียสละที่จะเดินทางไปรักษาพยาบาลผู้คนในชุมชนทั่วประเทศ

ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้: เมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น จะต้องเลือกเรียน/ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายวิทยาศาสตร์) จากนั้นจึงจะทำการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาพยาบาลของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยเอกชน ทั้งนี้การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะต้องมีผลการเรียนวิชาฟิสิกส์ เคมีชีววิทยา ค่อนข้างดีด้วย

 

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันวิทยาศาสตร์

ประวัติ วันวิทยาศาสตร์ แห่งชาติ
          
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงสนพระทัยวิชาคณิตศาสตร์และวิชาดาราศาสตร์ในตำราโหราศาสตร์ของไทย ในที่สุดพระองค์ทรงได้ค้นคิดวิธีการคำนวณปักข์ (ครึ่งเดือนทางจันทรคติ) เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวันธรรมสวนะ (วันพระ) ให้ถูกต้องตามการโคจรของดวงจันทร์ที่เรียกว่า "ปฏิทินปักขคณนา" (ปักขคณนา คือ วิธีนับปักข์หรือรอบครึ่งเดือนของข้างขึ้นข้างแรม เป็นวิธีนับที่แม่นยำสูง) และทรงมีพระบรมราชานุญาตให้ใช้ทำปฏิทินจันทรคติพระทุกปี แทนปฏิทินฆราวาส ขณะเดียวกันพระองค์ได้ทรงค้นคิดสูตรสำเร็จในการคำนวณปักข์ออกมาในรูปกระดานไม้สี่เหลี่ยมผืนผ้า เพื่อจะได้วันพระที่ถูกต้องโดยไม่ต้องเสียเวลาคำนวณ และมีชื่อเรียกว่า "กระดานปักขคณนา" ซึ่งสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสาเหตุที่จุดประกายให้พระองค์ทรงเริ่มสนพระทัยในวิชาดาราศาสตร์อย่างจริงจัง

ในพระราชฐานของพระองค์ ทั้งที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดจะมีหอดูดาว โดยเฉพาะหอชัชวาลเวียงชัย ในบริเวณพระนครคีรีหรือเขาวัง พระราชวังสำหรับแปรพระราชฐาน อยู่ที่จังหวัดเพชรบุรี ที่มีความสำคัญมากในประวัติศาสตร์วิชาดาราศาสตร์ของไทย ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นสถานที่สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ ในการรักษาเวลามาตรฐานของประเทศไทยต่อไป ดังนั้นหอนี้จึงเป็นอนุสรณ์แห่งสัมฤทธิผลในทางวิทยาศาสตร์เรื่องระบบเวลา พระองค์ทรงสถาปนาระบบเวลามาตรฐานขึ้นในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2395 โดยสร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนยขึ้นในพระบรมราชวัง ใช้เป็นหอนาฬิกาหลวงบอกเวลามาตรฐานของประเทศไทยสมัยนั้น โดยมีพนักงานตำแหน่งพันทิวาทิตย์ เทียบเวลาตอนกลางวันจากดวงอาทิตย์ และพันพินิตจันทรา เทียบเวลาตอนกลางคืนจากดวงจันทร์
                                                                                                    
  

วันวิทยาศาสตร์

ต่อมาใน วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค โดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชจากท่านิเวศวรดิษฐ์ไปยังบ้านหว้ากอ พร้อมด้วยพระราชโอรส พระราชธิดา รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ฯ (รัชกาลที่ 5) ขณะพระชนมายุ 16 พรรษา กับเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ ข้าราชบริพารจำนวนมาก ด้วยทรงตั้งพระปณิธานแน่วแน่ที่จะพิสูจน์ผลการคำนวนของพระองค์ เพื่อทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230

โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด คือ ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึง ปราณบุรี และลงไปถึง จังหวัดชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ พร้อมกับเชิญคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ ซึ่งเมื่อถึงวันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 เหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่พระองค์ทรงพยากรณ์ทุกประการ ไม่คลาดเคลื่อนแม้แต่วินาทีเดียว

ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว เซอร์แฮรี ออด ได้ทำการบันทึกเหตุการณ์ไว้ และเมื่อ พ.ศ.2518 หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้ทำการแปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพมหานคร ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้"


ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรับเอาศิลปวิทยาการ และความคิดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์

ทั้งนี้ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคม เป็น วันวิทยาศาสตร์ ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ.2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" และต่อมาได้มีการสร้าง "อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่ บ้านหว้ากอ

ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" และได้รับพระบรมราชานุญาตให้จัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ

นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2527 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 18 - 24 สิงหาคม โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่างๆ จนได้รับความสนใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งทำให้คณะรัฐมนตรีได้เล็งเห็นความสำคัญ ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2528 คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการจัดงาน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ" เป็นประจำทุกปี ระหว่าง วันที่ 18 - 24 สิงหาคม